องค์การระหว่างประเทศ (องค์การทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ),(องค์การทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ-WTO)

องค์การระหว่างประเทศ (องค์การทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ),(องค์การทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ-WTO)

           องค์การทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ หมายถึง องค์การที่มีบทบาทและอิทธิพลในการกำหนดนโยบายทางด้านเศรษฐกิจของสังคมโลก  ซึ่งองค์การเหล่านี้จะทำหน้าที่ดูแลให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามกติกาของสังคม โลก อีกทั้งผลักดันให้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยม  และมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการให้เหมาะสมขณะเดียวกันส่งเสริมให้ภาคเอกชนมี บทบาททางเศรษฐกิจตลอดทั้งมีการถ่ายโอนการผลิตไปสู่เอกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่งเสริมให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในแต่ละประเทศเพื่อให้ระบบทุนนิยมโลกขยาย ตัวและเป็นองค์การที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางทางการเงิน  ตลอดจนอำนวยความสะดวกทางด้านการเงินระหว่างประเทศ องค์การทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในปัจจุบันมีจำนวนมากในที่นี้จะกล่าวถึง เฉพาะองค์การที่กำลังมีบทบาทในปัจจุบัน  

 

 

องค์การค้าโลก 
     (World  Trade  Organization  :  WTO)

(ที่มาของภาพ  http://human.tru.ac.th/elearning/local/global03/pic/wto.jpg)

              องค์การค้าโลก  เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีพัฒนาการมาจากข้อตกลงทั่วไป ว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า หรือ แกตต์  (General  Agreement  on Tariffs and Trade : GATT) เมื่อปี  ค.ศ1947 แต่ไม่มีสถานะเป็นสถาบันจนกระทั่งประเทศสมาชิกได้เปิดการประชุมครั้งที่ 8 ใน ค.ศ.1986 ที่เรียกว่าการเจรจาการค้ารอบอุรุกวัย และผลของการประชุมส่วนหนึ่งคือ  การก่อตั้งองค์การค้าโลกขึ้นในปี ค.ศ.1995  องค์การนี้สังกัดอยู่ในสมัชชาแห่งสหประชาชาติสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงเจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์ปัจจุบันมีสมาชิก148  ประเทศ  โดยประเทศไทยเป็นสมาชิกอันดับที่  59

ใส่ความเห็น