เรื่องของ”วัด”วัดหลวง วัดราษฎร์ วัดร้าง ของไทย

เรื่องของวัดวัดหลวง วัดราษฎร์ วัดร้าง

วัด หมายถึง สถานที่ทางพระพุทธศาสนา ซึ่งปกติมีพระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ รวมทั้งมีพระภิกษุสงฆ์อาศัยที่ มาของคำว่า”วัด” บางคนอธิบายว่า มาจากคำว่า “วตวา”ในภาษาบาลี แปลว่า เป็นที่สนทนาธรรม บ้างก็ว่ามาจาก”วัตร”อันหมายถึงกิจปฏิบัติหรือหน้าที่ของพระภิกษุที่พึง กระทำ หรือแปลอีกอย่างว่าการจำศีล ภาวนา หรือสถานที่ ที่พระภิกษุสงฆ์ใช้ปฏิบัติภาระกิจที่พึงกระทำนั่นเองใน สมัยพุทธกาลนั้น มีการใช้คำว่า “อาราม” เป็นคำเรียกชื่อศาสนสถานในทางพุทธศาสนาที่ใช้เรียกเสนาสนะที่มีศรัทธาถวาย พระพุทธองค์ เช่น “เชตวนาราม” หรือชื่อเต็มว่า “เชตวเนอนาถบิณฑิกสสอาราเม”ซึ่งมีความหมายว่า “สวนของอนาถบิณฑที่ป่าเชต” หรือ “เวฬุ วนาราม”หรือ “บุปผาราม” เป็นต้น “อาราเม” หรือ”อาราม”ในคำอ่านของไทยแปลว่าสวน นอกจากนี้ในเวลาต่อมายังมีคำที่ใช้เรียกอีกอย่างว่า “วิหาระ”หรือ “วิหาร”การแบ่งประเภทของวัด
ใน ประเทศไทยมีวัดเป็นจำนวนมาก หากแบ่งวัดออกตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ก็จะมี 2 ลักษณะ คือวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และสำนักสงฆ์ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา คือ วัดที่มีอุโบสถเป็นที่ทำสังฆกรรม คำว่า วิสุงคามสีมา หมายถึง เขตพื้นที่ที่พระภิกษุสงฆ์ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเพื่อใช้จัดตั้งวัด ขึ้น แต่ในทางปฏิบัตินั้นเป็นการขอพระบรมราชานุญาตเฉพาะแต่บริเวณที่ตั้งพระ อุโบสถเท่านั้นส่วนสำนักสงฆ์ คือ สถานที่ตั้งพำนักอาศัยของหมู่พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งไม่ได้ขอพระบรมราชานุญาตใช้ผืนที่ดินแห่งนั้นเพื่อจัดตั้งเป็นวัดขึ้น ดังนั้นสำนักสงฆ์จึงไม่มีโรงพระอุโบสถเพื่อใช้เป็นที่ทำสังฆกรรม วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา จึงถือว่าเป็นวัดที่ถูกต้องและมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายถ้าแบ่งตามสำดับความสำคัญก็แบ่งออกได้เป็น พระอารามหลวง หรือ วัดหลวง วัดราษฎร์ และวัดร้างวัด หลวง หรือ พระอารามหลวง คือ วัดที่พระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์ เช่น สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างหรือทรงบูรณะปฏิสังขรณ์เป็นการส่วนพระองค์ หรือเป็นวัดที่ราษฎรสร้างหรือบูรณะปฏิสังขรณ์น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็น วัดหลวง ในปัจจุบันนี้ วัดที่จะถวายเป็นพระอารามหลวงได้นั้นต้องมีลักษณะถูกต้องตามระเบียบกระทรวง ศึกษาธิการ วาด้วยการขอยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง พ.ศ.2518 จึงจะนับเป็นพระอารามหลวงได้วัด ราษฎร์ คือ วัดที่ประชาชนทั่วไปสร้างหรือปฏิสังขรณ์ขึ้นตามศรัทธา และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาถูกต้องตามกฎหมายจากทางราชการแล้ว(ถ้ายังไม่ ได้ฯก็ยังคงสภาพเป็นเพียง สำนักสงฆ์)
วัด ร้าง คือ วัดที่ทรุดโทรม ไม่มีพระสงฆ์พำนักอาศัยจำพรรษาทางราชการจขึ้นทะเบียนไว้ ซึ่งหากบูรณะได้อาจยกเป็นวัดมีพระสงฆ์ต่อไป โดยดำเนินการตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการยกวัดร้างเป็นวัดมีพระสงฆ์ พ.ศ.2514

ลำดับชั้นของวัดหลวง

พระ อารามหลวงนั้น แต่ละวัดอาจมีฐานะ หรือระดับชั้นแตกต่างกันออกไป การจัดลำดับชั้นของวัดหลวง เริ่มมีขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2458 ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบแบ่งชั้นพระอารามหลวงออกเป็น 3 ชั้น คือ ชั้นเอก ชั้นโท และชั้นตรี แต่ละชั้นยังแยกระดับออกไปอีกหลายระดับ โดยมีสร้อยต่อท้ายชื่อวัดตามฐานะดังนี้
พระอารามหลวง ชั้นเอก ได้แก่ วัดที่มีความสำคัญ มีเจดียสถานบรรจุพระบรมอัฐิ หรือเป็นวัดที่มีเกียรติสูง มี 3 ระดับ คือ
1.ราชวรมหาวิหาร
2.ราชวรวิหาร
3.วรมหาวิหาร
พระอารามหลวง ชั้นโท ได้แก่วัดที่มีเจดียสถานสำคัญ หรือวัดที่มีเกียรติ มี 4 ระดับ คือ
1.ราชวรมหาวิหาร
2.ราชวรวิหาร
3.วรมหาวิหาร
4.วรวิหาร
พระอารามหลวง ชั้นตรี ได้แก่วัดที่มีเกียรติ วัดประจำหัวเมือง หรือวัดที่มีความสำคัญชันรอง มี3ระดับ คือ
1.ราชวรวิหาร
2.วรวิหาร
3.วัดที่ไม่มีสร้อยต่อท้าย(สามัญ)

ชนิดและขนาดแห่งพระอารามหลวง

1.ราชวรวิหาร คือ พระอารามที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินีสมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์เป็นการส่วนพระองค์
2.วรวิหาร คือ พระอารามที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินีสมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์ พระราชทานเป็นเกียรติยศแก่ผู้ต่ำศักดิ์ลงมาแก่วัด รวมทั้งวัดที่ประชาชนสร้างหรือปฏิสังขรณ์และทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวง ควรยกเป็นเกียรติยศ ซึ่งจัดได้ว่าเป็นวัดที่มีเกียรติ
3.ราชวรมหาวิหาร คือ พระอารามชนิดราชวรวิหารที่เป็นพระอารามใหญ่โต และมีของก่อสร้างใหญ่โต
4.วรมหาวิหาร คือ พระอารามชนิดวรวิหารที่เป็นอารามใหญ่โตและมีของก่อสร้างใหญ่โต
5.สามัญ คือ พระอารามหลวงที่ไม่เข้าในหลักเกณฑ์ดังกล่าว จะไม่มีสร้อยต่อท้ายชื่อ คงใช้เฉพาะชื่อวัดเท่านั้น
ระเบียบเกี่ยวกับการสร้างวัด

มี กฎหมายเกี่ยวกับคณะสงฆ์ตราขึ้นเป็นฉบับแรก คือพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ส.121 ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการต่าง ๆ ไว้ การสร้างวัดนั้นต้องได้รับพระบรมราชานุญาตก่อน วัดได้รับพระบรมราชานุญาตให้สร้างเช่นนี้ เรียกว่า ที่สำนักสงฆ์ เป็นวัดที่ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้ว เรียกว่า อาราม ถ้าเป็นวัดหลวงเรียกว่า พระอารามหลวง ถ้าเป็นวัดราษฎร์เรียกว่า อารามราษฎร์ ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พุทธศักราช 2484 ตราขึ้นเป็นฉบับที่สองใช้แทนฉบับแรก กฎหมายฉบับที่สองนี้ให้มีกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ขั้นตอน วิธีการสร้างวัด และตั้งวัดไว้ โดยให้คณะกรรมการอำเภอออกใบอนุญาตให้สร้างวัด กระทรวงศึกาธิการเป็นผู้ออกประกาศการตั้งวัดภายหลังจากที่ได้ใช้กฎหมายฉบับ ที่ 2 มาเป็นเวลานานพอสมควร ได้มีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบันตราขึ้นมาเป็นฉบับที่ 3 แทนฉบับที่ 2 การสร้างและตั้งวัดให้ดำเนินการตามกฎกระทรวงเช่นเดียวกับฉบับก่อน แต่การสร้างวัดกรมการศาสนาจะเป็นผู้ออกหนังสืออนุญาต ส่วนการตั้งวัดยังคงให้การะทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ออกประกาศเช่นเดิม

วัดประจำรัชกาล

วัด ซึ้งเป็นวัดประจำรัชกาลนั้น มักจะเป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ท่านทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์ และให้ความสนใจกับวัดนี้เป็นพิเศษ หรือมีความผูกพันกับวัดนี้มาก ๆ เมื่อพระองค์สวรรคต พระบรมอัฐิก็จะถูกนำไปบรรจุอยู่ที่ฐานของพระประธาน แต่การประกาศว่าวัดไหนเป็นวัดประจำรัชกาลนี้ ไม่ได้มีการประกาศออกเป็นทางการ เพียงแต่เกิดจากการที่คนพูดกันว่าวัดนี้เป็นวัดประจำรัชกาลนี้ ๆ และดูจากความผูกพันที่พระองค์ท่านทรงมีให้กับวัดนั้น ๆ มากกว่าดังต่อไปนี้
รัชกาลที่ 1 คือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
รัชกาลที่ 2 คือ วัดอรุณราชวราราม ราชวรวิหาร (วัดแจ้ง)
รัชกาลที่ 3 คือ วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร
รัชกาลที่ 4 คือ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
รัชกาลที่ 5 คือ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
รัชกาลที่ 6 คือ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
รัชกาลที่ 7 คือ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
รัชกาลที่ 8 คือ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร
รัชกาล ที่ 9 อาจจะเป็นหนึ่งในสามวัดนี้คือ วัดโสธรวราราม วรวิหาร จ.ฉะเชิงเทรา วัดญาณสังวราราม จ.ชลบุรี และ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก กรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น