นิกายหีนยาน

   นิกาย นี้มีผู้นับถือมากในประเทศลังกาพม่า ลาว เขมร ไทย โดยเฉพาะประเทศไทยศูนย์กลางของนิกายเถรวาท เพราะมี การนับถือพุทธศาสนานิกายนี้สืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพชน พระพุทธเจ้าไม่ใช่เทวดาหรือพระเจ้า แต่เป็นมนุษย์ที่มีศักยภาพ เหมือน สามัญชนทั่วไป สามารถบรรลุสัจธรรมได้ด้วยความวิริยะอุตสาหะ หลักปฏิบัติในชีวิตที่ทุกคนควรกระทำคือ ทำความดีละเว้น ความชั่ว ทำจิตใจให้ผ่องแผ้วและการที่เราจะทำสิ่งเหล่านี้ได้นั้นจะต้องมีศีล สมาธิ ปัญญาเพื่อเป็นพาหนะ นำผู้โดยสาร เข้าทะเล แห่งวัฎฎสงสาร ไปสู่พระนิพพานหลักคำสอนที่พุทธศาสนาแบบเถรวาท ได้ดำเนินตามคำสอน พระพุทธองค์ มีเรื่องที่ควรแก่ การ ศึกษาดังนี้
 

 ..คัมภีร์พระไตรปิฎก

          พระ ไตรปิฏกเป็นคัมภีร์สำคัญของพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งรวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ระยะแรกนับตั้งแต่มีการปฐมสังคายนาพระ วินัยที่กำหนดไว้เรียกว่า “พระไตรปิฏก” คำว่า”ไตรปิฏก” มาจาก”เต หรือไตร”แปลว่า “สาม” และ”ปิฏก” แปลว่า ตะกร้าหรือกระจาด รวมความว่า “กระจาดที่ใส่พระพุทธวจนะไว้เป็นหมวดหมู่ มี 3 หมวด คือ

           ๑. พระวินัยปิฎก มีสาระเกี่ยวกับข้อปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์
           ๒. พระสุตตันตปิฎก มีสาระเกี่ยวกับเทศนาของพระพุทธเจ้าและพระสาวก
           ๓. พระอภิธรรมปิฎก มีสาระเกี่ยวกับหลักธรรมทางด้านวิชาการ
   หลักคำสอนของพุทธศาสนานิกายเถรวาท
           นัก ปราชญ์ตะวันตกส่วนมากคิดว่า หลักคำสอนทางพุทธศาสนามีความเป็น จริยธรรมมากกว่าที่จะเป็นศาสนา เพราะเป็น สิ่งที่บุคคลนั้นต้อง ปฏิบัติเองเห็นเองและเข้าใจ ด้วยตนเอง คำสอนมุ่งเน้นอนัตตา แม้นว่ามีทัศนะ ในการมองโลกโดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักไตรลักษณ์ คือ เห็นโลก และสิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา(อนิจจัง) เพราะสภาพของสิ่งเหล่านี้มันอยู่ในภาวะที่ตั้งอยู่ได้ไม่นาน (ทุกขัง) ที่มันตั้งอยู่ได้ไม่นานเพราะเป็นอนัตตา ตัวตนที่เราคิดว่ามีอยู่นั้นแท้จริงเราไม่สามารถไปบังคับผลักดันให้เป็นไป ตามใจหวัง จึงไม่มีสิ่งใดที่ตั้งอยู่อย่างคงที่ได้นาน แม้แต่ร่างกายของเราก็ตาม ล้วนเกิดจากการประชุมของขันธ์ 5 อันได้แก่ รูป ซึ่งหมายถึงส่วนของกาย เวทนาซึ่งหมายถึงความรู้สึกที่เป็นสุขบ้างทุกข์บ้างหรือเฉย ๆ ซึ่งหมายถึงความจำได้หมายรู้ สังขารหมายถึงการปรุงแต่ง ดีบ้างชั่วบ้างหรือเป็นกลาง ๆ ดังเช่น สภาวะทางจิตของบุคคลที่อยู่ในฌาน วิญญาณซึ่งหมายถึงการรู้แจ้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้งหมดนี้คือรูปและนามที่ประกอบรวมตัวกัน เมื่อเอาสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ออกไปหมดแล้ว ความเป็นตัวตนร่างกายก็ไม่มีเช่นเดียวกับรถ จะเป็นรถได้ต้องประกอบด้วยเพลา ล้อ เกียร์ คลัช เบรก ฯลฯ เมื่อแยกสิ่งเหล่านี้ออกไปทีละขั้นความเป็นรถก็หมดไป ดังนั้นขันธ์ 5 เมื่อมาประชุมกันเมื่อใด วงล้อชีวิตทั้งหลายก็หมุนเวียนไปไม่รู้สิ้นสุด โลกทั้งโลกคือกายยาววาหนึ่งนี้เอง โลกมีอยู่เพื่อสัตว์โลกที่ยังติดข้องในตัณหา ถ้าหมดตัณหาได้ ดับไม่เหลือทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงจึงเกิดขึ้นเพราะตัณหาเป็นเหตุ

           ชาว เถรวาทเชื่อว่าพระพุทธองค์ได้ทรงเห็นความเป็นไปของชีวิตที่เกิดมาต้องมี ทุกข์และรับผลของทุกข์ พระพุทธองค์จึงพยายามที่จะออกจากกงวงล้อแห่งวัฏฏสงสาร ด้วยความวิริยะอันยิ่งใหญ่ทำให้ทรงค้นค้นพบอริยสัจ 4 และปฎิจจสมุปบาทซึ่งเป็นความจริงอันยิ่งใหญ่ที่ซ่อนอยู่ในความหมุนเวียนแปร เปลี่ยนของโลก
 

   อริยสัจ 4 : ความจริงอันประเสริฐและหนทางที่จะนำสัตว์โลกไปสู่การบรรลุ หลุดพ้น….มี 4 ประการ คือ

           ทุกข์ ( suffering ) หรือ ทุกข์อริยสัจ คือ สภาพที่ทนได้ยากหรือสภาพที่บีบคั้น ขัดแย้ง บกพร่องขาดแก่นสาร และการไม่ให้ความพึงพอใจ ที่แท้จริง เช่น สภาวะที่ต้องเรียนหนังสือนาน ๆ โดยมิได้เปลี่ยนอิริยาบถทำให้เราทนต่อสภาวะ นั้น ๆ ได้ยาก จึงมักจะหลีกจากสภาวะอันยากจะต่อการที่จะทนอยู่เช่นนั้นไปสู่สภาวะที่น่า ปรารถนากว่าแล้วก็เรียกสภาพวะที่ทนได้ยากนี้ว่า “ทุกข์ ” และเรียกสภาวะที่น่าปรารถนาว่า”สุข” ซึ่งแท้จริงแล้วความสุขก็คือ ความทุกข์ที่เบาบางกว่าหรือทุกข์ ที่คลายได้แล้วนั่นเองทุกข์มีหลายชนิด คือ ทุกข์ที่มาจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความเศร้าโศก ความระทมใจ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความน้อยอกน้อยใจ ความคับแค้นใจ ตลอดจนรวมไปถึงการเห็นสิ่งที่ไม่รักใคร่การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก และการปรารถนาในสิ่งใด ก็ไม่สามารถได้สิ่งนั้น ในพระธรรมจักกัปวัฒนสูตร ได้จำแนกทุกข์ไว้ 11 ชนิด มีดังนี้ คือ
           1. ชาติคือ ความเกิด
           2. ชรา คือ ความแก่
           3. มรณะคือ ความตาย
           4. โสกะคือ ความแห้งใจ ความเศร้าใจ
           5. ปริเทวะคือ ความระทมใจพิไรรำพัน หรือความบ่นเพ้อ
           6. ทุกข์คือ ความไม่สบายใจ ไม่สบายตัว
           7. โทมนัสคือ ความไม่สบายใจ ความไม่น้อยใจ
           8. อุปายาสคือ ความคับแค้นใจ ความตรอมใจ
           9. อัปปิยสัมปโยคคือ การเห็นสิ่งที่ไม่รักใคร่
           10. ปิยวิปปโยคคือ การพลัดพรากจากสิ่งที่รักใคร
           11. อิจฉิตาลาภะ คือ ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น

           ทุกข์ทั้ง 11 ชนิดนี้ สามารถจัดแบ่งออกได้เป็นประเภท ใหญ่ ๆ 2 ประเภท คือ

           –  สภาวทุกข์ หรือทุกข์ประจำ คือ ทุกข์อันเป็นสภาพธรรมดาของสัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้ ได้แก่ ชาติ ชรา และมรณะ
           –  ปกิณณทุกข์ หรือทุกข์ขจร คือ ทุกข์ที่เกิดเป็นครั้วคราวขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น ได้แก่ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส อัปปิยสัมปโยค ปิยวิปปโยค และอิจฉิตาลาภะ

           สรุป ได้ว่า ความทุกข์ที่เกิดทางกายก็คือหรือทางใจก็ดี ล้วนเกิดขึ้นมิได้นอกเหนือไปจากขันธ์ 5 รูปและนามยังมีอยู่ ตราบใดตราบนั้นทุกข์ย่อมเกิดปรากฎที่รูปและนามไม่มีที่สิ้นสุด รูปและนามเป็นตัวทุกข์เพราะจะต้องบำรุงให้มากทั้งยังเป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ได้ ไม่นานมีความแปรปรวนแตกสลาย ตัวรับทุกข์อื่น ๆ คือ ทุกข์กายและใจอีกด้วย รูปและนามนี้จึงเป็นทั้งตัวทุกข์และตัวรับทุกข์
สมุทัย ( origin of suffering ) บ่อเกิดแห่งความทุกข์ ซึ่งมาจากตัณหาหรือความทะยานอยาก( craving ) ทำให้เราเกิดความเพลิดเพลินใจเป็นอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ทำให้เกิดผลอันเกิดจากการปฏิบัติ และเริ่มมีความยากใหม่ในรอบใหม่ เป็นเช่นนี้เรื่อยไปจนกว่าจะดับตัณหาได้

           นิโรธ (the cessation of suffering)คือ ความดับทุกข์ อันเป็นผลจากการกระทำของผู้ปฏิบัติอันได้แก่ ความดับโดยสำรอกทิ้งไม่เหลือซึ่งตัณหา ความวางตัณหา ความปล่อยตัณหาและความไม่พัวพันตัณหานั้น

           มรรค (the Pate leading to the cessation suffering)คือ ทางปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ อันเป็นทางสายกลางระหว่างการปฏิบัติสุดโต่งทั้ง 2 ทาง คือ การทรมานตนให้ลำบาก และการปรนเปรอตนให้ได้รับความสุขอย่างเต็มที่ ทางสายกลางมีดังนี้ คือ

           1. สัมมาทิฎฐิ ( right view ) คือ การมีความรู้ถูกต้อง โดยเห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ไม่หลงมัวเมาไปกับสภาพมายาจึงเป็นผู้มีความละอายต่อการทำบาปทั้งปวง และมิอาจทำดีโดยหวังผล บุคคลเช่นนี้ไม่เป็นผู้มองสิ่งใดอย่างผิวเผิน แต่มีความคิดเป็นระบบตลอดจนมีสติสัมปชัญญะ

 

           2. สัมมาสังกัปปะ ( right thought ) คือ ความดำริชอบ มีความนึกคิดชอบ มีความนึกคิดที่ถูกต้อง จึงเป็นผู้ปลอดโปร่งจากกาม ไม่เคียดแค้น ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และไม่คิดทำร้ายเขา

           3. สัมมาวาจา ( right speech ) คือ การมีวาจาถูกต้องไม่กล่าวคำเท็จ ไม่นินทาเพ้อเจ้อ เหลวไหล ไม่พูดคำหยาบคาย แต่พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อโลกและสัตว์ทั้งหลาย

           4. สัมมากัมมันตะ ( right action ) คือ การกระทำที่ถูกต้อง ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย ฉ้อฉลหรือทำลายของผู้อื่น และไม่ประพฤติผิดในกาม

           5. สัมมาอาชีวะ ( right livelihood ) คือ การเลี้ยงชีวิตที่ถูกต้อง ไม่เบียดเบียนผู้ใดและงดเว้นจากอาชีพดังนี้ คือ

    • การค้าขายอาวุธ
    • การค้าขายมนุษย์
    • การค้าขายเนื้อสัตว์
    • การค้าขายน้ำเมา
    • การค้าขายยาพิษ

           6. สัมมาวายามะ ( right effort ) คือ การพยายามในสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อให้เห็นแจ้งชัดในความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ด้วยการระวังและป้องกันความชั่วมิให้เกิดขึ้น ด้วยการละหรือกำจัดอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ด้วยการสร้างกุศลให้เกิดขึ้น และด้วยการรักษาและส่งเสริมกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งขึ้น

           7. สัมมาสติ ( right mindfulness ) คือ การรำลึกประจำใจที่ถูกต้องหรือตื่นตัวอยู่เสมอว่าทำอะไร ดำรงจิตให้เป็นปัจจุบัน ไม่สติลอยเผลอไผลไปกับอำนาจของกิเลสตัณหา ซึ่งจะช่วยป้องกันยับยั้งตนเองไม่ให้หลงเพลินไปในความชั่วหรือเปิดโอกาสให้ ความชั่วเล็ดลอดเข้ามาในจิตได้

           8. สัมมาสมาธิ ( right concentration ) คือ การมีความตั้งมั่นแห่งจิตที่ถูกต้อง โดยทำจิตให้แน่วแน่ในอารมณ์หนึ่งที่ไม่มีโทษและรักษาอารมณ์นั้นให้ตลอดต่อไป ได้นานตามที่ใจต้องการ
สรุปได้ว่าทางสายกลาง 8 ทาง นี้คือ คำสอนในเรื่องของปัญญา ศีล สมาธิ อันเป็นเรื่องของไตรสิกขา คือ การศึกษา 3 ประการในพุทธศาสนาซึ่งมีรายละเอียดดังนี้คือ

           ศีล ( Morality ) คือ ความปกติและการรักษาศีลก็คือความตั้งใจรักษาปกติของตน อันเป็นหลักปฏิบัติไม่ทำให้เดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่นและเป็นหลักแห่งความ ประพฤติที่จะทำให้เกิดความสะอาดทางกายและวาจา ศีลมีหลายประเภท เช่น ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีลที่ควรกระทำเพื่อให้เกิดความปกติในสังคมก็คือ ศีล 5 เพราะสะดวกและง่ายที่จะปฏิบัติมีดังนี้คือ

           1. พึงละเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ตลอดจนการประทุษร้ายผู้อื่นให้เขาได้รับความเจ็บปวดและทรมานเช่น การปล่อยให้สุนัขที่ตนเลี้ยงอดอาหารตาย การลอบวางยาพิษ การใส่สารพิษลงในอาหารและน้ำ การใช้อาวุธทำลายผู้อื่น การทรมานและสร้างความตื่นตระหนกแก่คนและสัตว์

           2. พึงละเว้นจากการขโมย ฉ้อฉล ตลอดจนใช้อุบายโกงเพื่อหวังในทรัพย์สินของผู้อื่น เช่น การลักเด็กเพื่อเรียกค่าไถ่จากพ่อแม่หรือผู้ปกครอง การนำหรือพาเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้อนุญาตมาเป็นของตนเอง

           3. พึงละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม เช่น การประพฤตินอกใจสามีหรือภรรยาของตน การประพฤติล่วงเกินในบุตรภรรยาหรือสามีของผู้อื่น ตลอดจนการทำร้ายในของรักของใคร่ของผู้อื่นเพราะคำว่ากามในที่นี้มิได้หมาย เฉพาะในเรื่องกามอารมณ์เท่านั้น แต่กินความไปถึงของรักของใคร่ เช่น การที่เราตีสุนัขของเพื่อนจนตาย นอกจากจะผิดศีลข้อที่ 1 แล้วยังผิดศีลข้อที่ 3 นี้อีกด้วยเพราะสุนัขนั้นเป็นของรักของเพื่อน

           4. พึงละเว้นจากการพูดเท็จ พุดส่อเสียดนินทาเพ้อเจ้อเหลวไหลพูดให้ร้ายผู้อื่น พุดเพื่อทำลายสามัคคีในหมู่คณะ พุดหยาบคาย ตลอดจนการพูดโน้มนำให้ผู้อื่นเกิดการปรุงแต่งทางกายอีกด้วย

           5. พึงละเว้นจากการดื่มเครื่องดองของเมา ตลอดจนการทำในสิ่งที่จะทำให้เกิดความมึนเมาต่อประสาท อันเป็นผลให้ร่างกายสูญเสียความปกติ เช่น กัญชา ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยาบ้า หรือยาขยัน บาร์บิตูและ

ใส่ความเห็น